ยุทธการกอกามีลา (Battle of Gaugamela) ; 331 ปีก่อนคริสตกาล
(ภาพวาดการรบในยุทธการกอกามีลา ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
ในปีที่ 331 ก่อนคริสตกาล กองทัพอันเกรียงไกรจาก 2 จักรวรรดิได้มาปะทะกันที่กอกามีลา (Gaugamela) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาร์บีล่า (Arbela)
กองทหารมาซิโดเนีย 40,000 นาย ภายใต้การนำทัพของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เคลื่อนพลมุ่งหน้าสู่ตะวันออกเพื่อไปพิชิตอินเดีย ทว่า...ระหว่างการเดินทางกลับพบกับกองทัพเปอร์เซียที่นำทัพโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III) ซึ่งมีกำลังพลระหว่าง 50,000-100,000 นาย
ผลการรบปรากฏว่ากองทัพเปอร์เซียต้องพบกับความพ่ายแพ้ โดยเหลือกำลังทหารที่รอดชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนฝ่ายของอเล็กซานเดอร์เหลือทหารประมาณ 1/10 ของกำลังทหารทั้งหมด กองทหารมาซิโดเนียได้ยึดทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลของเปอร์เซีย โดยสมบัติเหล่านี้จะกลายเป็นทุนสำคัญในการรบของอเล็กซานเดอร์ต่อไปในภายภาคหน้า นอกจากนี้อเล็กซานเดอร์ยังเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่านิยมการแต่งกายของชาวเปอร์เสียใหม่อีกด้วย ผลจากการพ่ายแพ้ของกองทัพเปอร์เซียที่สมรภูมิกอกามีลานี้ทำให้กองทัพของอเล็กซานเดอร์สามารถกรีฑาทัพเข้าสู่อุษาทวีป และเป็นผลให้อเล็กซานเดอร์กลายเป็นมหาราชไปในที่สุด
* มีข้อสันนิษฐานตามการเรียกชื่อว่ากอกามีลาหรืออาร์บีล่านี้ อาจจะเป็นโกเมล (Gomel คล้ายกับ Gaugamela) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโมซุล และอยู่ไม่ไกลจากเมืองเออร์บิล (Irbil คล้ายกับ Arbela) ซึ่งเมืองทั้งหมดนี้อยู่ในเขตประเทศอิรักในปัจจุบัน
ยุทธการบัดเดอร์ (Battle of Badr) ; ค.ศ.624 (ฮ.ศ.2)
(ภาพวาดการรบในยุทธการบัดเดอร์ ; ภาพจาก asianhistory.about.com) |
ยุทธการบัดเดอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลามยุคแรกๆ
สืบเนื่องมาจากการที่ศาสดามูฮัมมัดต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายที่ต่อต้านศาสนาใหม่ที่พระองค์ทรงตั้งขึ้น โดยฝ่ายต่อต้านนี้ก็เป็นคนเผ่าเดียวกันกับศาสดามูฮัมมัด นั่นก็คือ เผ่ากุเรช(Quraish)แห่งนครมักกะฮ์
โดยมีผู้นำหลายคนที่นำการต่อต้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเมอร์ อีบิน ฮีชาม (Amir ibn Hisham) หรือ อาบู จาฮ์ล (Abu Jahl) ได้ทำการท้าทายให้ศาสดามูฮัมมัดทรงทำการขอคำพยากรณ์ต่อพระผู้เป็นเจ้า และต่อต้านการเผยแผ่ศาสนาอิสลามแก่ชาวอาหรับท้องถิ่น
ศาสดามูฮัมหมัดและเหล่าผู้ติดตามสามารถรบชนะกองทัพมักกะฮ์ได้ถึง 3 ครั้ง โดยการรบครั้งสำคัญที่สุดคือ ยุทธการบัดเดอร์นี่เอง ผลจากการรบในครั้งนี้ทำให้ อาเมอร์ อีบิน ฮีชาม ถูกสังหาร รวมไปถึงเหล่าผู้ต่อต้านคนอื่นๆอีกหลายคน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในคาบสมุทรอาระเบีย หลังจากนั้นมาไม่กี่ศตวรรษ ชาวโลกจำนวนมากก็หันไปนับถือศาสนาอิสลาม
* ปัจจุบันบัดเดอร์ คือ เมืองที่อยู่ในจังหวัดอัลมะดีนะฮ์ ทางตะวันตกของประเทศซาอุดิอาระเบีย อยู่ห่างจากนครมักกะฮ์ประมาณ 130 กิโลเมตร
ยุทธการกาดิซิยะฮ์ (Battle of Qaddasiyyah) ; ค.ศ.636
(แผนที่แสดงที่ตั้งของอัลกาดิซิยะฮ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอิรัก ; ภาพจาก http://iraqslogger.powweb.com) |
12 ปีหลังจากได้รับชัยชนะครั้งสำคัญที่บัดเดอร์ ส่งผลให้กองทัพอิสลามเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถบุกไปพิชิตจักรวรรดิจักรวรรดิซาสซานิยะห์ (Sassanid Empire) ซึ่งเป็นจักรวรรดิของชาวเปอร์เซียที่ก่อตั้งมากว่า 300 ปีลงได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.636 ณ เมืองอัลกาดิซิยะฮ์ (al-Qaddasiyyah) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก
ฝ่ายอาหรับภายใต้การนำของจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน (Rashidun Caliphate) ส่งกำลังพลกว่า 30,000 นาย เข้าปะทะกับฝ่ายเปอร์เซียที่กำลังพล ประมาณ 60,000 นาย แต่เมื่อการรบผ่านพ้นไปแค่วันเดียวทหารเปอร์เซียกลับถูกสังหารไปถึง 30,000 นาย ขณะที่ทหารรอชีดีนตายไปแค่ประมาณ 6,000 นายเท่านั้น
กองทัพอาหรับจึงบุกเข้ายึดทรัพย์สมบัติของชาวเปอร์เซียมาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้เป็นทุนสำรองในการทำศึกครั้งต่อไป แต่กว่าจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีนจะพิชิตแผ่นดินเปอร์เชียลงได้ก็ล่วเลยงมาจนถึง ค.ศ.653 ในปีที่จักพรรดิยัซเดอเกิร์ดที่ 3 (Yazdgerd III) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิซาสซานิยะห์ทรงสิ้นพระชนม์ จึงทำให้จักรวรรดิซาสซานิยะห์ล่มสลายลงไปด้วย และด้วยเหตุนี้เอง แผ่นดินเปอร์เซียในอดีตหรืออิหร่านในปัจจุบันนี้จึงได้กลายมาเป็นดินแดนอิสลาม
ยุทการทารัส (Battle of Talas) ; ค.ศ.751
(สภาพแม่น้ำทาราสในปัจจุบัน ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
แต่เนื่องจากเส้นทางอันยาวไกลในการลำเลียงพลและเสบียงอาหาร ทำให้ราชวงศ์อับบาซียะห์ (Abbasid) ไม่ได้ติดตามไปโจมตีกองทัพราชวงศ์วงถัง ที่ถอยร่นกลับเข้าไปยังแผ่นดินจีน (บางตำรา หรือบางข้อมูล ระบุว่ากองทัพอาหรับสามารถพิชิตดินแดนจีนได้ใน ค.ศ.751 ?)
อย่างไรก็ตาม จากการพ่ายแพ้ของกองทัพจีนในการรบครั้งนี้ ได้บั่นทอนอิทธิพลของจีนในเอเชียกลางลงไปเป็นอย่างมาก และผลที่ตามมาก็คือชาวเอเชียกลางค่อยหันไปนับถือศาสนาอิสลามกันมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้โลกตะวันตกรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆจากจีน เช่น การทำกระดาษ ผ่านทางอาหรับอีกด้วย
ยุทธการฮัททิน (Battle of Hattin) ; ค.ศ.1187
(ภาพวาดการรบในยุทธการฮัททิน ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
กองทัพของซาลาดินได้ยกพลเข้าโอบล้อมกองกำลังครูเซเดอร์ เพื่อที่จะตัดการส่งกำลังทางน้ำ และยุทโธปกรณ์อื่นๆ เมื่อจบการรบปรากฎว่า กองกำลังครูเซเดอร์ทั้งหมด20,000 นาย ตายเกือบหมดกองทัพ บางส่วนที่เหลือเพียงไม่กี่คนก็ถูกจับได้หมดทุกคน เป็นผลให้สงครามครูเสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยการยอมศิโรราบของราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม
ตามตำนานยังกล่าวอีกว่า เมื่อข่าวการพ่ายแพ้ของคริสเตียนในครั้งนี้รู้ไปถึงพระกรรณ์ของพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 3 (Pope Urban III) พระองค์ทรงถึงกับช็อกจนสิ้นพระชนม์
สองปีต่อมา สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ก็ประทุขึ้นอีกครั้ง (ค.ศ.1189-1192) แต่กองทัพยุโรปภายใต้การนำของ กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionhearted) ก็ไม่สามารถขับไล่กองทัพของซาลาดินให้ออกจากกรุงเยรูซาเล็มได้ *ปัจจุบันคือเมืองฮิททิน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล
ยุทธการทาเรน (Battles of Tarain) ; ค.ศ.1191 และ ค.ศ.1192
(ภาพวาดของ มูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
เมื่อมูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ (Muhammad Shahab ud-Din Ghori) ชาวทาจิกและเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นกาซนี (Ghazni) ที่อยู่ในดินแดนอัฟกานิสถาน มีความต้องการจะขยายอาณาเขตของตนออกไป
ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1175-1190 กอรี่ได้นำทัพเข้าโจมตีคุชราต(Gujarat) ยึดครองเปศวาร์ (Peshwar) ล้มล้างจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ (Ghaznavid Empire) และได้ปัญจาบ
จากนั้นกอรี่จึงเริ่มเดินหน้ารุกคืบต่อไปยังอินเดียในปี ค.ศ.1191 แต่กลับต้องเป็นฝ่ายปราชัยให้กับราชบุตรของ กษัตริย์ปรีทวีราชาที่ 3 (Prithviraj III) ซึ่งเป็นการรบครั้งแรกในยุทธการทาเรน กองทัพมุสลิมถูกตีแตก และตัวกอรี่เองก็ถูกจับเป็นเชลย
แต่กษัตริย์ปรีทวีราชาที่ 3 กลับปล่อยตัวเชลยสงครามในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดนัก เพราะในปีถัดมา กอรี่ กลับมาคิดบัญชีอีกครั้งพร้อมกับกองทหารกว่า 120,000 นาย ถึงกับทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากกองทัพช้างและกองทหารราบ ด้วยกำลังมหาศาลนี้ราชบุตรคนที่เคยเอาชนะกอรี่ได้ในครั้งที่แล้วจึงต้องเป็นฝ่ายปราชัย
จากผลของการรบ ทำให้อินเดียตอนเหนือถูกปกครองโดยชาวมุสลิม ไปจนกระทั่งมีการสถาปนาบริติชราชขึ้นใน ค.ศ.1858 โดยทุกวันนี้ กอรี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของประเทศปากีสถาน
* ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้อยู่ใกล้ๆกับเมืองทาเทารี ในรัฐหรยาณา ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
ยุทธการอายันยาลูต (Battle of Ayn Jalut) ; ค.ศ.1260
(ภาพการรบในยุทธการอายันยาลูต ; ภาพจาก asianhistory.about.com) |
ภาย ใต้การนำของ เจงกีส ข่าน (Genghis Khan) กองทัพมองโกลอันเกรียงไกรได้เข้าทำสงครามในยุทธการอายันยาลูตในปี ค.ศ.1260 ซึ่งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์
ฮูลากู ข่าน (Hulagu Khan) ซึ่งเป็นหลานชายของ กุบไล ข่าน คาดหวังว่าจะกำจัดฐานอำนาจสุดท้ายของมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ นั่นคือราชวงศ์มัมลุกของอียิปต์ โดยก่อนหน้านั้น กองทัพมองโกลได้ถล่มเปอร์เซียจนพินาศ เข้ายึดครองแบกแดด ล้มล้างจักรวรรดิกาหลิบอับบาซิยะฮ์ (Abbasid Caliphate) และยุบราชวงศ์อัยยูบิยะฮ์ (Ayyubid Dynasty) ในซีเรีย
แต่ ว่าที่อายันยาลูตนั้นโชคกลับไม่เข้าข้างฝั่งมองโกล เมื่อเจงกีส ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่สิ้นชีวาลัยลงที่จีน จึงทำให้ฮูลากูต้องถอนทัพใหญ่กลับไปอาเซอร์ไบจันเพื่อการแย่งชิงราชสมบัติ ทิ้งกองทหารไว้ในปาเลสไตน์เพียงแค่ 20,000 นาย ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากันกับกองทหารของมัมลุก
* การรบครั้งนี้ฝ่ายมองโกลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ
ยุทธการปะนีปัตครั้งแรก (First Battle of Panipat) ; ค.ศ.1526
ยุทธการปะนีปัตครั้งแรก (First Battle of Panipat) ; ค.ศ.1526
(ภาพการรบในยุทธการปะนีปัต ; ภาพจาก asianhistory.about.com) |
ระหว่าง ปี ค.ศ.1206-1526 อินเดียส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของรัฐสุลต่านเดลี (Delhi Sultanate) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยลูกหลานของ มูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ ภายหลังชัยชนะในยุทธการทาเรนครั้งที่ 2
ค.ศ.1526 เจ้าผู้ครองนครคาบูล ผู้ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก เจงกีส ข่าน และติมูร์ (Timur หรือที่รู้จักกันในยุโรปว่า "เตเมอร์เลียน" Tamerlane) นามว่า ซาเฮอร์ อัลดิน มูฮัมมัด บาบูร์ (Zahir al-Din Muhammad Babur) นำทัพเข้าโจมตีกองทัพของสุลต่านที่มีกำลังพลมากกว่าหลายเท่าตัว
กอง ทหารของบาบูร์มีเพียง 15,000 นาย แต่สามารถรบชนะกองกำลังของ สุลต่าน อิบราฮิม ลอธีร์ ที่มีจำนวนกว่า 40,000 นาย พร้อมด้วยกองช้างศึกอีก 100 เชือก เพราะใช้กองทหารปืนใหญ่ยิงเข้าใส่ช้างศึก และยังทำให้เหล่าทหารเลวเดินเท้าของฝ่ายตรงข้ามต้องแตกทัพหนีเพราะเสียขวัญ
โดย สุลต่านลอธีร์ได้สิ้นพระขนม์คาสนามรบ และบาบูร์ได้ก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล (Mughul หรือมองโกล "Mongol" นั่นเอง ) ขึ้นมาปกครองอินเดียไปจนถึง ค.ศ.1858 เมื่อรัฐบาลของอาณานิคมอังกฤษทำการยึดอำนาจ
*ปัจจุบันคือเมืองปะนีปัต ในรัฐหรยาณา ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
ยุทธการเกาะฮานซาน (Battle of Hansan-do) ; ค.ศ.1592
ยุทธการเกาะฮานซาน (Battle of Hansan-do) ; ค.ศ.1592
(แบบจำลองเรือเต่า ที่อยู่ในยุทธานุสรณ์สถานแห่งชาติเกาหลี กรุงโซล ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
กองทัพญี่ปุ่นได้รุกคืบขึ้นเหนือไปจนสุดที่เปียงยาง เสียแต่ว่าต้องหยุดรอกำลังเสริมที่จะมาสมทบทางทะเล
กองทัพเรือเกาหลีภายใต้การนำของแม่ทัพ ยี ซุน ชิน (Yi Sun-shin) ซึ่งเป็นผู้คิดประดิษฐ์เรือเต่า (turtle-boats) ซึ่งเป็นครั้งแรกทีมีการหุ้มเรือรบด้วยเหล็กกล้า โดยจะใช้กองเรือเต่า และยุทธวิธีปีกนกกระเรียน (crane's wing formation) เพื่อล่อให้กองทัพเรือญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากกว่าติดตามเข้าไปยังบริเวณใกล้ๆเกาะฮานซาน และทำการบดขยี้กองทัพเรือญี่ปุ่นสิ้นท่า
เรือรบของญี่ปุ่นจมลงถึง 59 ลำ จากทั้งหมด 73 ลำ ขณะที่เรือรบของเกาหลีทั้งหมด 56 ลำ ไม่ถูกจมลงเลยแม้แต่ลำเดียว ฮิเดะโยะชิจึงไม่สามารถจะเคลื่อนพลต่อไปยังจีนได้ และต้องถอนทัพกลับไปในที่สุด
*เกาะฮานซานอยู่ในเขตจังหวัดกียองซางใต้ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน
ยุทธการก็อกเตป (Battle of Geoktepe) ; ค.ศ.1881
(ภาพวาดการรบในยุทธการก็อกเตป ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
ค.ศ.1879 กองกำลังชาวเติร์กได้ชนะรัสเซียอย่างเด็ดขาดที่ก็อกเตป ทำให้จักรวรรดิรัสเซียต้องอับอายขายขี้หน้าเป็นอย่างมาก จึงได้กลับมาล้างแค้นในปี ค.ศ.1881 จากความแตกต่างด้านกำลังพลทำให้ป้อมก็อกเตปแตกลง เหล่าทหารเติร์กที่ป้องกันป้อมถูกสังหารเรียบ ส่วนที่เหลือก็แตกกระจายหนีออกไปตามทะเลทรายโดยรอบ
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นการแผ่อำนาจของรัสเซียในเอเชียกลางไปจนกระทั่งถึงยุคของโซเวียต ทุกวันนี้หลายประเทศในเอเชียกลางจึงจำเป็นจะต้องพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจ และซึบซับเอาวัฒนธรรมจากรัสเซียมาเป็นอย่างมาก
* ในอดีตก็อกเตปคือป้อมปราการของชาวเติร์ก ปัจจุบันกลายมาเป็นมัสยิดในประเทศเติร์กเมนิสถาน
ยุทธการซึชิมะ (Battle of Tsushima) ; ค.ศ.1950
(ภาพกองเรือญี่ปุ่นถ่ายจากเรือรบรัสเซีย ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
กองเรือรัสเซียภายใต้การบัญชาของ นายพล โรเซสทเวนสกี้ (Rozhestvensky) พยายามที่จะหลบหนีไปยังท่าเรือวลาดิวอสต็อก ซึ่งอยู่ในไซบีเรียบนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็ไม่สามารถหนีกองเรือญี่ปุ่นไปได้
สรุปแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเรือรบไป 3 ลำ พร้อมด้วยลูกเรือ 117 นาย ส่วนฝ่ายรัสเซียต้องสูญเสียเรือรบไป 28 ลำ ลูกเรือตายไปทั้งสิ้น 4,380 นาย ถูกจับอีก 5,917 นาย
รัสเซียจึงต้องยอมแพ้ไปโดยปริยาย พร้อมกับเกิดการปฏิวัติระบอบซาร์ในปีเดียวกัน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นความรุ่งเรืองและอิทธิพลของญี่ปุ่น ไปจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945
*ช่องแคบซึชิมะอยู่ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้
ยุทธการโคฮิมา (Battle of Kohima) ; ค.ศ.1944
(ภาพสนามเทนนิสที่ถูกระเบิดภายในจวนข้าหลวงที่โคฮิมา ; ภาพจาก en.wikipedia.org) |
ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นยึดพม่ามาจากอังกฤษได้ในปี ค.ศ.1942-1943 และหมายจะบุกต่อไปยังอินเดีย โดยระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน กำลังทหารอินเดียโดยการนำของ มอนตากู สตอปฟอร์ด (Montagu Stopford) เข้าต่อสู้แบบระห่ำบ้าเลือดกับกองทัพญี่ปุ่นที่นำทัพโดย โคโตะกุ ซะโต้ (Kotoku Sato) ใกล้กับหมูบ้านโคฮิมะทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
ทั้งสองฝ่ายต่างขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม แต่ฝ่ายอังกฤษมีการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ในที่สุดแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นที่หิวโหยจำต้องล่าถอยออกไป และฝ่ายกำลังผสมอินเดีย-อังกฤษ จึงมีโอกาสเข้ายึดครองพม่าอีกครั้ง
โดยผลการรบนั้น ญี่ปุ่นต้องเสียทหารไปประมาณ 6,000 นาย ถ้ากับสงครามในพม่าแล้วก็เป็น 60,000 นาย ส่วนอังกฤษเสียทหารที่โคฮิมาไป 5,000 นาย รวมกับที่เสียในสงครามพม่าแล้วเป็น 17,000 นาย
nice post thanks for sharing this we at valley trip planner best travel agents based in kashmir we offer best kashmir
ตอบลบtour and travel packages