วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงของอุษาทวีป (ภาคชมพูทวีป)

หลังจากในภาคแรกที่พาไปรู้จักสิ่งก่อสร้างดังๆในอาหรับ(แถมเปอร์เซียและอนาโตเลีย) บทความนี้เราจะพากันมุ่งสู่ตะวันออก เพื่อกรีฑาทัพเข้ารุกอินเดีย อุ้ย...ลืมตัวนึกว่าเรามากับกองทัพพระเจ้าเอล็กซานเดอร์ เราจะไปทำความรู้จักกับสอ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงแห่งชมพูทวีปกันต่างหากล่ะ ขึ้นชื่อว่าชมพูทวีปหรืออินเดียแล้วมันย่อมจะมีวัฒนธรรมที่แปลกและแตกต่างปรากฎอยู่ในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์ใจหลายแห่งเลย

พระพุทธรูปยืนแห่งบามิยัน เมืองบามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน


พระพุทธรูปยืนแห่งบามิยันเป็นงานแกะสลักพระพุทธรูปบนหน้าผาหินทรายในหุบเขาบามิยัน แต่ได้ถูกทำลายลงโดยรัฐบาลตอลีบัน เมื่อครั้งยังครองอำนาจอยู่ในอัฟกานิสถาน เมื่อปี พ.ศ.2544 จนทำให้ทั่วทั้งโลกตกตะลึงและกล่าวโจมตีรัฐบาลตอลีบันอย่างหนัก และแม้ว่าองค์พระพุทธรูปจะพังทลายเสียหายอย่างย่อยยับไปแล้ว แต่เหตุระเบิดครั้งนี้ก็ทำให้ชื่อของพระพุทธรูปยืนแห่งบามิยันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ไม่เพียงแต่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น ปัจจุบันนานาชาติพยายามจะเข้าไปบูรณะองค์พระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ แต่การดำเนินการยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในอัฟกานิสถาน

ซ้าย : ก่อนโดนระเบิด  ขวา : หลังโดนระเบิด
องค์พระมี 2 องค์ ขนาดความสูง 55 เมตร และ 37 เมตรตามลำดับ เมื่อครั้งยังไม่ถูกระเบิดทำลาย องค์พระที่สูง 55 เมตร ถือเป็นไฮไลต์สำคัญในหมู่สถาปัตยกรรมของหุบเขาบามิยัน และยังครองตำแหน่งพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย มีข้อสันนิษฐานกันว่าพระพุทธรูปยืนนี้สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรคันธาระ ประมาณ พ.ศ.1050 โดยการเจาะสกัดผนังถ้ำเป็นคูหาเพื่อสร้างอาราม และสถาปัตยกรรมหลักก็คือพระพุทธรูปยืน เป็นศิลปะเป็นแบบคันธาระที่มีชื่อเสียง  เนื่องจากผสมผสานมาจากอารยะธรรมกรีก เปอร์เซีย และอินเดีย



วิหารทองคำ เมืองอัมฤตธิ์สาร์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย


วิหารทองคำ หรือชื่อในภาษาปัญจาบว่า ฮะร์มันดีร์ชาฮิบ (ਹਰਿਮੰਦਰ ਸਾਹਿਬ) เป็นศาสนสถานสำคัญที่สุดในศาสนาซิกข์ และเป็นสถานที่เก็บพระคัมภีร์อธิครันธ์ อันเป็นพระคำภีร์ศักสิทธิ์ที่บัญญัติขึ้นโดยท่าคุรุอาร์จานเทพ ตัววิหารตั้งอยู่กลางเมืองอัมฤตธิ์สาร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นในสมัยของท่านคุรุรามทาส ซึ่งเป็นคุรุท่านที่ 4 ของศานาซิกข์ เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมของชาวซิกข์ในอินเดีย แต่กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก็ล่วงเข้ามาถึง พ.ศ.2177 ในสมัยของท่านคุรุอาร์จานเทพ ซึ่งเป็นคุรุท่านที่ 5

ตัววิหารตั้งอยู่กลางสระน้ำ หรือที่เรียกว่าสระน้ำอัมฤตธิ์ (ต่อมาได้นำมาใช้เป็นชื่อเมือง) โดยมีสะพานเชื่อมระหว่างตัววิหารกับประตูทางเข้าวิหารที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ โดยรอบจะมีกำแพงล้อมรอบสระย้ำ และวิหารอยู่อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกำแพงนี้จะมีประตูทางเข้าอยู่ทั้ง 4 ด้าน

ลักษณะพิเศษของวิหารที่มองเห็นได้เด่นชัดคือตัววิหารสีทอง เป็นผลมาจากตกแต่งของ มหาราขารันยิต ซิงห์ ในปี พ.ศ.2373 โดยการนำแผ่นทองคำมาหุ้มทับส่วนบนของวิหารขึ้นไปจนถึงยอดโดม นอกจากนี้แล้วมหาราชารันยิตยังได้มีการตกแต่งภายในวิหารด้วยงานแกะสลักหินอ่อนที่วิจิตรงดงามอีกด้วย





ป้อมแดง กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย


ป้อมแดง หรือลัลชิลาห์ (लाल क़िला) เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นจากหินทรายสีแดง ตั้งอยู่ในเขตเดลีเก่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรุงนิวเดลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของชาห์เจฮาน กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุล เพื่อใช้เป็นที่ประทีบส่วนพระองค์ ส่วนในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่เฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชของอินเดีย

กษัตริย์ชาห์เจฮานทรงโปรดให้สร้างป้อมแห่งนี้ขึ้นในปี พ.ศ.2181 ใช้เวลาในการก่อสร้างถึง 10 ปีจึงแล้วเสร็จ ตัวป้อมมีขนาดใหญ่และกว้างขวางมาก ล้อมรอบด้วยกำแพงสูงใหญ่ทั้ง 4 ด้าน โดยมีประตูทางเข้าหลักคือ ประตูละฮอร์ ที่หันหน้าไปยังเมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน ซึ่งถือเป็นไฮไลต์สำคัญที่ผู้คนมักจะจดจำว่าเป็นภาพของป้อมแดง แต่ป้อมแดงยังรวมไปถึงหมู่พระราชมณเฑียร ท้องพระโรงชั้นนอกและชั้นใน พระตำหนักที่ประทับ และมัสยิดจามา ซึ่งล้วนแล้วแต่วิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง








สถานีรถไฟฉัตระปตีชิวาจี นครมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย


สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีรถไฟที่ถือว่าสวยงามที่สุดในอินเดีย และมีความแออัดคับคั่งของผู้โดยสารเป็นอับดับต้นๆของอินเดียอีกด้วย เดิมมีชื่อว่า "สถานีรถไฟวิคเตอเรีย" (Victoria Terminus) เพื่อเฉลิมพระเกียรติแต่พระจักรพรรดินีวิคเตอเรียแห่งจักรวรรดิอังกฤษในปี พ.ศ.2431

กระทั่งปี พ.ศ.2539 หลังจากอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว รัฐบาลอินเดียในขณะนั้นเน้นนโยบายด้านชาตินิยม ด้วยการเปลี่ยนชื่อสถานที่และเมืองต่างๆให้เป็นภาษาท้องถิ่น เช่น เปลี่ยนชื่อเมืองบอมเบย์ เป็นมุมไบ และเปลี่ยนชื่อเมืองกัลกัตตา เป็นโกลกัตตา เป็นต้น สถานีรถไฟวิคเตอเรียก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น "สถานีรถไฟฉัตระปตีชิวาจี" (Chhatrapati Shivaji Terminus) ซึ่งตั้งชื่อตามพระนามของ จักรพรรดิชิวาจี (Chhatrapati Shivaji ; ฉัตระปตี แปลว่า จักพรรดิ ) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิมราธา

ตัวอาคารออกเป็นสถาปัตยกรรมแบบกอธิควิคเตอเรียน (Victorian Gothic Style of Architecture) ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษชื่อ เฟเดอริค วิลเลียม สตีเฟนส์ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2421 และใช้เวลาก่อสร้างยาวนานถึง 10 จึงแล้วเสร็จ โดยอาคารแห่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสถานีรถไฟเซนต์ปัสคลาส (St Pancras railway station) ในกรุงลอนดอน ที่เปิดใช้งานก่อนหน้าสถานีแห่งนี้ในปี พ.ศ.2411 นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2551 สถานีแห่งนี้ยังเคยถูกกลุ่มก่อการร้ายบุกเข้ามาก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธปืนและระเบิดมือ จนมีผู้เสียชีวิตจากเหตุถการณ์นี้ถึง 50 รายด้วยกัน

ทัชมาฮาล เมืองอัครา รัฐอุตระประเทศ ประเทศอินเดีย



ทัชมาฮาล เป็นสุสานที่จักรพรรดิชาห์ชาฮาน แห่งจักรวรรดิโมกุล สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก และที่ฝังพระศพของพระนางมุมทัชมาฮาล พระมเหสีองค์ที่ 3 ของพระองค์ สร้างขึ้นหลังจากพระนางมุมทัชมาฮาลสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2174 เพียง 1 ปี คือในปี พ.ศ.2175 จักรพรรดิชาห์ชาฮานก็มีดำริให้เริ่มสร้างสุสานแห่งนี้ กว่าจะเสร็จสมบูรณ์นั้นใช้เวลายาวนานถึง 22 ปี

ตัวอาคารสร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ และเป็นสุดยอดสถาปัตกรรมแบบโมกุลที่ทั่วโลกยกย่องให้เป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก สถาปนิกสำคัญที่เป็นผู้นำในการออกแบบคือ อุสตาด อาห์มัด ลาเฮารี ซึ่งเป็นชาวละฮอร์ ใช้แรงงานกว่า 20,000 คนในการก่อสร้าง และหลังจากทัชมาฮาลสร้างเสร็จแล้ว สถาปนิกและเหล่านายช่างก็ถูกสั่งประหารชีวิต เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้ไปสร้างสถาปัตยกรรมใดที่สวยกว่าทัชมาฮาลขึ้นมาได้อีก


ส่วนที่ฝังพระศพของพระนางมุมทัชมาฮาลนั้นอยู่บริเวณใจกลางของอาคาร ตัวพระแท่นบรรจุพระศพสร้างจากหินอ่อนสีขาวทรงบัวตูม พร้อมกับประดับประดาไปด้วยเครื่องเพชรนิลจินดามากมาย และภายหลังจากที่จักรพรรดิชาห์ชาฮานสิ้นพระชนม์แล้ว พระศพก็ถูกนำมาฝังไว้เคียงข้างพระศพของพระนางทัชมาฮาล

ป้อมอัครา เมืองอัครา รัฐอุตระประเทศ ประเทศอินเดีย


ป้อมอัครา มีชื่อเรียกว่า ลัลชิลาห์ (लाल क़िला) ซึ่งเหมือนกันกับป้อมแดงที่กรุงนิวเดลี เนื่องจากตัวป้อมทำมาจากหินทรายสีแดงเช่นเดียวกัน สร้างโดยจักรพรรดิอักบาร์มหาราช แห่งราชวงศ์โมกุล ในระหว่างปี พ.ศ.2108-2117 (แล้วเสร็จในรัชสมัยของจักรพรรดิชาห์ชาฮาน) ตัวป้อมตั้งอยู่ริมฝั่งบริเวณโค้งแม่น้ำยมุนา ด้านที่ติดกับแม่น้ำมีความยาวถึง 2.5 กม. ด้านในปรพกอบไปด้วยหมู่พระราชมณเทียรน้อยใหญ่กว่า 500 หลัง แต่ไม่ได้สร้างจากหินทรายแดงดังเช่นตัวป้อมและกำแพง โดยพระราชมณเทียรด้านในสร้างขึ้นจากหินอ่อน และประดับประดาอย่างสวยงาม

ศิลปะกรรมทั้งหมดในป้อมเป็นแบบโมกุลที่เน้นความสวยงาม โอ่อ่าใหญ่โต และน่าเกรงขาม และจะสังเกตุเห็นว่ามีการรวมสถาปัตยกรรมแบบอิสลามและฮินดูเข้าด้วยกัน อันเป็นพระราชประสงค์ของจักรพรรดิอักบาร์มหาราช ผู้ซึ่งผู้คนยกย่องว่าท่านทรงมีขันติธรรมสูงส่ง จึงทำให้ป้อมแห่งนี้สวยงามไม่แพ้ที่ใด

ในสมัยของจักรพรรดิโอรังเซบ พระองค์ได้ขังพระราชบิดาของพระองค์คือ จักรพรรดิชาห์ชาฮาน ไว้ในป้อมแห่งนี้ หลังจากที่พระองค์ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแทนพระราชบิดา หลังจากนั้น จักรพรรดิชาห์ชาฮาน ก็สิ้นพระชนม์ลง ณ ป้อมแห่งนี้ในปี พ.ศ.2200






พระมหาเจดีย์พุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดมคธี รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย


พระมหาเจดีย์พุทธคยา หรือมหาโพธิเจดีย์ ตั้งอยู่ในพุทธคยา ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถานสำคัญที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ โดยเป็นสถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยองค์พระมหาเจดีย์นี้คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นมาแต่ครั้งของพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศืเมารยะ ส่วนพุทธสถานอื่นๆ ในบริเวณนั้นมีการสร้างเสริมต่อเติม และบูรณะเรื่อยมา สุดแท้แต่ว่ากษัตริย์อินเดียในขณะนั้นเป็นชาวพุทธหรือไม่

สำหรับสถาปัตยกรรมของพระมหาเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากที่สุดในอินเดียตะวันออก แสดงให้เห็นว่าอินเดียนั้นสามารถสร้างสถาปัตยกรรมแบบก่ออิฐถือปูนมาได้ตั้งนานแล้ว และส่งต่อรูปแบบการสร้างเจดีย์แบบนี้ออกไปยังดินแดนที่รับเอาอารยะธรรมแบบอินเดียไป องค์พระมหาเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมเจดีย์ด้านเท่า มีความสูง 55 เมตร บนยอดบนสุดจะทำเป็นยอดเจดีย์แยกทรงกลมต่างหากซึ่งทำให้ดูแปลกตา และมีขนาดพื้นที่ฐาน 121.29 เมตร และในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการบูรณะครั้งใหญ่ ทั้งองค์ะระหมาเจดีย์ที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังเพิ่มเจดีย์รายเล็กๆรอบมุมทั้ง 4 ของพระมหาเจดีย์อีกด้วย






ศีคิรียา อำเภอมะทเล จังหวัดตอนกลาง ประเทศศรีลังกา



ศีคิริยา เป็นภูเขาหินโดดๆที่สวยงาม โดยเป็นที่รู้กจักกันมาตั้งแต่ พ.ศ.277 ในสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งศรีลังกา พระองค์ได้เสด็จประพาสและตั้งชื่อภูเขาแห่งนี้ว่าสีหคีรี ที่แปลว่า เขาสิงห์ ต่อมาใน พ.ศ.440-454 พระเจ้าปุลหัตถะ ได้ขึ้นมาสร้างป้อมพร้อมศาลาโรงธรรมไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างสิ่งก่อสร้างบนยอดเขาแห่งนี้

ในรัชสมัยพระเจ้าธาตุเสน พระองค์ต้องการสร้างพระราชวังบนที่สูงๆ เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะเป็นกษัตริย์ที่ปกครองทั้งฟ้าและดิน แต่ก็ไม่ได้ใช้ที่นี่เป็นพระราชวังหลวง จนกระทั่งเจ้าชายกัสสปะพระราชโอรสผู้ประสูติจากมเหสีฝ่ายซ้ายซึ่งเป็นหญิงสามัญชน ได้โค่นพระราชบัลลังค์จากพระเจ้าธาตุเสนผู้เป็นพระราชบิดา และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงได้มีการย้ายราชธานีมายังศีคิรียาแห่งนี้ โดยใช้เวลาการก่อสร้าง 7 ปี ส่วนสาเหตุที่ย้ายเมืองหลวงมานี่ก็เพื่อป้องกันภัยจาก เจ้าชายโมคคัลลานะ พระอนุชาต่างมารดาที่เสด็จลี้ภัยไปยังอินเดีย และต่อมาเจ้าชายโมคคัลลานะก็ยกทัพมาจากอินเดีย และเข้าถล่มศีคิรียาได้ในที่สุด รวมเวลาที่ศีคิริยาเป็นเมืองหลวงอยู่ได้แค่ 18 ปี

ปัจจุบันสถาปัตยกรรมหลักบนยอดเขาแห่งนี้หักพังเสียหายไปแทบจะหมดเค้าเดิมแล้ว เนื่องจากขาดการดูแลเอาใจใส่มาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ กว่าจะมีชาวยุโรปเข้ามาสำรวจค้นพบ สำหรับสิ่งก่อสร้างเด่นๆด้านบนก็มี คูวังสระน้ำ บันได เชิงเทิน ประตูสิงโต และไฮไลต์สำคัญก็คือจิตรกรรมหญิงสาวเปลือยอก ที่แม้เวลาจะล่วงผ่านมานานแล้วก็ตาม แต่สีสันลายเส้นของภาพจิตรกรรมนี้ก็ยังคงความคมชัดสวยงามอยู่เช่นเดิม ส่วนด้านล่างซึ่งอยู่ตรงตีนเขาก็เป็นฐานของปราสาทราชวังที่หาเค้าเดิมไม่ได้แล้ว แม้กระนั้นสถานที่แห่งนี้ก็น่าพิศวงไม่น้อยหน้าไปกว่ามาชูปิกชูในเปรูเลยทีเดียว


วัดเทียมฟ้า หุบเขาพาโร จังหวัดพาโร ประเทศภูฏาน


วัดเทียมฟ้า มีชื่อในภาษาภูฏานว่า พาโรทักชาง หรือ วัดทักชางพัลฟุง และมีฉายาที่ฝรั่งรู้จักกันว่า วัดคูหาเสือ (The Tiger's Nest ) ตั้งอยู๋บนหน้าผาในหุบเขาพาโร ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,120 เมตร และสูงจากตีนเขาเบื้อล่าง 700 เมตร และอยู่ไม่ไกลจากเมืองพาโรมากนัก

โดยวัดแห่งนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ.2227 โดยท่าน เกลเซ ทันซิน รังเย สังฆราชาองค์ที่ 4 แห่งภูฏาน ประกอบไปด้วยหมู่พระวิหารธรรม 7 หลัง ที่ใช้สำหรับปฏิบัติศาสนกิจของนิกายวัชรญาณ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูป พระสังฆรูป และจิตรกรรมต่างๆอีกมายมายในวัดซึ่งเป็นศิลปะแบบภูฎาน-ทิเบต ที่มีสไตล์สวยงามแบบเยือกเย็น ซึ่งจะเป็นบุญตาแก่สายตาของผู้แสวงบุญ หรือนักท่องเที่ยวที่อุตส่าห์ตรากตรำทนลำบากเดินทางขึ้นมายังวัดแห่งนี้ได้สำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น