วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

12 ยุทธการพลิกหน้าประวัติศาสตร์อุษาทวีป (ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก)

เอามาจากบทความชื่อว่า Twelve Little-Known Asian Battles That Changed History บนเว็บไซต์ asianhistory.about.com ที่ผมนำเอามาแปลและเรียบเรียงใหม่ โดยจะกล่าวถึงการทำสงครามครั้งสำคัญๆในหน้าประวัติศาสตร์ของอุษาทวีป ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่ (จะมีก็แต่นักประวัติศาสตร์เท่านั้น) แต่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประวัติศาสตร์อุษาทวีปของเราเป็นอย่างมาก

ยุทธการกอกามีลา (Battle of Gaugamela) ; 331 ปีก่อนคริสตกาล 

 (ภาพวาดการรบในยุทธการกอกามีลา ; ภาพจาก en.wikipedia.org)

ในปีที่ 331 ก่อนคริสตกาล กองทัพอันเกรียงไกรจาก 2 จักรวรรดิได้มาปะทะกันที่กอกามีลา (Gaugamela) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาร์บีล่า (Arbela)

กองทหารมาซิโดเนีย 40,000 นาย ภายใต้การนำทัพของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เคลื่อนพลมุ่งหน้าสู่ตะวันออกเพื่อไปพิชิตอินเดีย ทว่า...ระหว่างการเดินทางกลับพบกับกองทัพเปอร์เซียที่นำทัพโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III) ซึ่งมีกำลังพลระหว่าง 50,000-100,000 นาย

ผลการรบปรากฏว่ากองทัพเปอร์เซียต้องพบกับความพ่ายแพ้ โดยเหลือกำลังทหารที่รอดชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนฝ่ายของอเล็กซานเดอร์เหลือทหารประมาณ 1/10 ของกำลังทหารทั้งหมด กองทหารมาซิโดเนียได้ยึดทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลของเปอร์เซีย โดยสมบัติเหล่านี้จะกลายเป็นทุนสำคัญในการรบของอเล็กซานเดอร์ต่อไปในภายภาคหน้า นอกจากนี้อเล็กซานเดอร์ยังเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่านิยมการแต่งกายของชาวเปอร์เสียใหม่อีกด้วย ผลจากการพ่ายแพ้ของกองทัพเปอร์เซียที่สมรภูมิกอกามีลานี้ทำให้กองทัพของอเล็กซานเดอร์สามารถกรีฑาทัพเข้าสู่อุษาทวีป และเป็นผลให้อเล็กซานเดอร์กลายเป็นมหาราชไปในที่สุด

* มีข้อสันนิษฐานตามการเรียกชื่อว่ากอกามีลาหรืออาร์บีล่านี้ อาจจะเป็นโกเมล (Gomel คล้ายกับ Gaugamela) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโมซุล และอยู่ไม่ไกลจากเมืองเออร์บิล (Irbil คล้ายกับ Arbela) ซึ่งเมืองทั้งหมดนี้อยู่ในเขตประเทศอิรักในปัจจุบัน



ยุทธการบัดเดอร์ (Battle of Badr) ; ค.ศ.624 (ฮ.ศ.2) 

(ภาพวาดการรบในยุทธการบัดเดอร์ ; ภาพจาก asianhistory.about.com)

ยุทธการบัดเดอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลามยุคแรกๆ

สืบเนื่องมาจากการที่ศาสดามูฮัมมัดต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายที่ต่อต้านศาสนาใหม่ที่พระองค์ทรงตั้งขึ้น โดยฝ่ายต่อต้านนี้ก็เป็นคนเผ่าเดียวกันกับศาสดามูฮัมมัด นั่นก็คือ เผ่ากุเรช(Quraish)แห่งนครมักกะฮ์

โดยมีผู้นำหลายคนที่นำการต่อต้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเมอร์ อีบิน ฮีชาม (Amir ibn Hisham) หรือ อาบู จาฮ์ล (Abu Jahl) ได้ทำการท้าทายให้ศาสดามูฮัมมัดทรงทำการขอคำพยากรณ์ต่อพระผู้เป็นเจ้า และต่อต้านการเผยแผ่ศาสนาอิสลามแก่ชาวอาหรับท้องถิ่น

ศาสดามูฮัมหมัดและเหล่าผู้ติดตามสามารถรบชนะกองทัพมักกะฮ์ได้ถึง 3 ครั้ง โดยการรบครั้งสำคัญที่สุดคือ ยุทธการบัดเดอร์นี่เอง ผลจากการรบในครั้งนี้ทำให้ อาเมอร์ อีบิน ฮีชาม ถูกสังหาร รวมไปถึงเหล่าผู้ต่อต้านคนอื่นๆอีกหลายคน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในคาบสมุทรอาระเบีย หลังจากนั้นมาไม่กี่ศตวรรษ ชาวโลกจำนวนมากก็หันไปนับถือศาสนาอิสลาม

* ปัจจุบันบัดเดอร์ คือ เมืองที่อยู่ในจังหวัดอัลมะดีนะฮ์ ทางตะวันตกของประเทศซาอุดิอาระเบีย อยู่ห่างจากนครมักกะฮ์ประมาณ 130 กิโลเมตร 

ยุทธการกาดิซิยะฮ์ (Battle of Qaddasiyyah) ; ค.ศ.636

(แผนที่แสดงที่ตั้งของอัลกาดิซิยะฮ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอิรัก ; ภาพจาก http://iraqslogger.powweb.com)

12 ปีหลังจากได้รับชัยชนะครั้งสำคัญที่บัดเดอร์ ส่งผลให้กองทัพอิสลามเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถบุกไปพิชิตจักรวรรดิจักรวรรดิซาสซานิยะห์ (Sassanid Empire) ซึ่งเป็นจักรวรรดิของชาวเปอร์เซียที่ก่อตั้งมากว่า 300 ปีลงได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.636 ณ เมืองอัลกาดิซิยะฮ์ (al-Qaddasiyyah) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก
 
ฝ่ายอาหรับภายใต้การนำของจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน (Rashidun Caliphate) ส่งกำลังพลกว่า 30,000 นาย เข้าปะทะกับฝ่ายเปอร์เซียที่กำลังพล ประมาณ 60,000 นาย แต่เมื่อการรบผ่านพ้นไปแค่วันเดียวทหารเปอร์เซียกลับถูกสังหารไปถึง 30,000 นาย ขณะที่ทหารรอชีดีนตายไปแค่ประมาณ 6,000 นายเท่านั้น

กองทัพอาหรับจึงบุกเข้ายึดทรัพย์สมบัติของชาวเปอร์เซียมาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้เป็นทุนสำรองในการทำศึกครั้งต่อไป แต่กว่าจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีนจะพิชิตแผ่นดินเปอร์เชียลงได้ก็ล่วเลยงมาจนถึง ค.ศ.653 ในปีที่จักพรรดิยัซเดอเกิร์ดที่ 3 (
Yazdgerd III) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิซาสซานิยะห์ทรงสิ้นพระชนม์ จึงทำให้จักรวรรดิซาสซานิยะห์ล่มสลายลงไปด้วย และด้วยเหตุนี้เอง แผ่นดินเปอร์เซียในอดีตหรืออิหร่านในปัจจุบันนี้จึงได้กลายมาเป็นดินแดนอิสลาม

 
ยุทการทารัส (Battle of Talas ; ค.ศ.751 



(สภาพแม่น้ำทาราสในปัจจุบัน ; ภาพจาก en.wikipedia.org)
เป็นที่น่าเหลือเชื่อเหลือเกิน เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 120 ปี ที่องค์ศาสดามูฮัมมัด และเหล่าผู้ติดตามได้กวาดล้างศัตรูที่ไร้ศรัทธาในยุทการบัดเดอร์ จนกระทั่งกองทัพอาหรับสามรถบุกทะลวงสู่ตะวันออกอันไกลโพ้น และเข้าปะทะกับกองทัพจักรวรรดิจีนแห่งราชวงศ์วงถัง กองกำลังทั้งสองมาพบกันที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำทาลาส ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศคีร์กีซสถาน ผลปรากฎว่ากองทัพแห่งราชวงศ์วงถังแพ้อย่างราบคาบ

แต่เนื่องจากเส้นทางอันยาวไกลในการลำเลียงพลและเสบียงอาหาร ทำให้ราชวงศ์อับบาซียะห์ (Abbasid) ไม่ได้ติดตามไปโจมตีกองทัพราชวงศ์วงถัง ที่ถอยร่นกลับเข้าไปยังแผ่นดินจีน (บางตำรา หรือบางข้อมูล ระบุว่ากองทัพอาหรับสามารถพิชิตดินแดนจีนได้ใน ค.ศ.751 ?) 

อย่างไรก็ตาม จากการพ่ายแพ้ของกองทัพจีนในการรบครั้งนี้ ได้บั่นทอนอิทธิพลของจีนในเอเชียกลางลงไปเป็นอย่างมาก และผลที่ตามมาก็คือชาวเอเชียกลางค่อยหันไปนับถือศาสนาอิสลามกันมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้โลกตะวันตกรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆจากจีน เช่น การทำกระดาษ ผ่านทางอาหรับอีกด้วย

ยุทธการฮัททิน (Battle of Hattin) ; ค.ศ.1187

(ภาพวาดการรบในยุทธการฮัททิน ; ภาพจาก en.wikipedia.org)
ในขณะที่เหล่าผู้นำของกลุ่มนักรบศักสิทธิ์ (Crusaders) แห่งราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม (Kingdom of Jerusalem) เริ่มแตกคอกันในช่วงกลางของ ค.ศ.1180 ดินแดนอาหรับโดยรอบก็ถูกผนวกด้วยฝีมือของกษัตริย์ชาวเคิร์ดพระนามว่า "ศอลาฮุดดีน" (Salah ad-Din) หรือที่ชาวยุโรปเรียกกันว่า "ซาลาดิน" (Saladin)

กองทัพของซาลาดินได้ยกพลเข้าโอบล้อมกองกำลังครูเซเดอร์ เพื่อที่จะตัดการส่งกำลังทางน้ำ และยุทโธปกรณ์อื่นๆ เมื่อจบการรบปรากฎว่า กองกำลังครูเซเดอร์ทั้งหมด20,000 นาย ตายเกือบหมดกองทัพ บางส่วนที่เหลือเพียงไม่กี่คนก็ถูกจับได้หมดทุกคน เป็นผลให้สงครามครูเสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยการยอมศิโรราบของราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม

ตามตำนานยังกล่าวอีกว่า เมื่อข่าวการพ่ายแพ้ของคริสเตียนในครั้งนี้รู้ไปถึงพระกรรณ์ของพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 3 (Pope Urban III) พระองค์ทรงถึงกับช็อกจนสิ้นพระชนม์

สองปีต่อมา สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ก็ประทุขึ้นอีกครั้ง (ค.ศ.1189-1192) แต่กองทัพยุโรปภายใต้การนำของ  กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionhearted) ก็ไม่สามารถขับไล่กองทัพของซาลาดินให้ออกจากกรุงเยรูซาเล็มได้ *ปัจจุบันคือเมืองฮิททิน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล 




ยุทธการทาเรน (Battles of Tarain) ; ค.ศ.1191 และ ค.ศ.1192

(ภาพวาดของ มูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ ภาพจาก en.wikipedia.org)

เมื่อมูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ (Muhammad Shahab ud-Din Ghori) ชาวทาจิกและเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นกาซนี (Ghazni) ที่อยู่ในดินแดนอัฟกานิสถาน มีความต้องการจะขยายอาณาเขตของตนออกไป

ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1175-1190 กอรี่ได้นำทัพเข้าโจมตีคุชราต(Gujarat) ยึดครองเปศวาร์ (Peshwar) ล้มล้างจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ (Ghaznavid Empire) และได้ปัญจาบ

จากนั้นกอรี่จึงเริ่มเดินหน้ารุกคืบต่อไปยังอินเดียในปี ค.ศ.1191 แต่กลับต้องเป็นฝ่ายปราชัยให้กับราชบุตรของ กษัตริย์ปรีทวีราชาที่ 3 (Prithviraj III) ซึ่งเป็นการรบครั้งแรกในยุทธการทาเรน กองทัพมุสลิมถูกตีแตก และตัวกอรี่เองก็ถูกจับเป็นเชลย

แต่กษัตริย์ปรีทวีราชาที่ 3 กลับปล่อยตัวเชลยสงครามในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดนัก เพราะในปีถัดมา กอรี่ กลับมาคิดบัญชีอีกครั้งพร้อมกับกองทหารกว่า 120,000 นาย ถึงกับทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากกองทัพช้างและกองทหารราบ ด้วยกำลังมหาศาลนี้ราชบุตรคนที่เคยเอาชนะกอรี่ได้ในครั้งที่แล้วจึงต้องเป็นฝ่ายปราชัย

จากผลของการรบ ทำให้อินเดียตอนเหนือถูกปกครองโดยชาวมุสลิม ไปจนกระทั่งมีการสถาปนาบริติชราชขึ้นใน ค.ศ.1858 โดยทุกวันนี้ กอรี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของประเทศปากีสถาน

* ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้อยู่ใกล้ๆกับเมืองทาเทารี ในรัฐหรยาณา ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

ยุทธการอายันยาลูต (Battle of Ayn Jalut) ; ค.ศ.1260

(ภาพการรบในยุทธการอายันยาลูต ภาพจาก asianhistory.about.com)

ภาย ใต้การนำของ เจงกีส ข่าน (Genghis Khan) กองทัพมองโกลอันเกรียงไกรได้เข้าทำสงครามในยุทธการอายันยาลูตในปี ค.ศ.1260 ซึ่งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์

ฮูลากู ข่าน (Hulagu Khan) ซึ่งเป็นหลานชายของ กุบไล ข่าน คาดหวังว่าจะกำจัดฐานอำนาจสุดท้ายของมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ นั่นคือราชวงศ์มัมลุกของอียิปต์ โดยก่อนหน้านั้น กองทัพมองโกลได้ถล่มเปอร์เซียจนพินาศ เข้ายึดครองแบกแดด ล้มล้างจักรวรรดิกาหลิบอับบาซิยะฮ์ (Abbasid Caliphate) และยุบราชวงศ์อัยยูบิยะฮ์ (Ayyubid Dynasty‎) ในซีเรีย

แต่ ว่าที่อายันยาลูตนั้นโชคกลับไม่เข้าข้างฝั่งมองโกล เมื่อเจงกีส ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่สิ้นชีวาลัยลงที่จีน จึงทำให้ฮูลากูต้องถอนทัพใหญ่กลับไปอาเซอร์ไบจันเพื่อการแย่งชิงราชสมบัติ ทิ้งกองทหารไว้ในปาเลสไตน์เพียงแค่ 20,000 นาย ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากันกับกองทหารของมัมลุก 

* การรบครั้งนี้ฝ่ายมองโกลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ

 ยุทธการปะนีปัตครั้งแรก (First Battle of Panipat) ; ค.ศ.1526

(ภาพการรบในยุทธการปะนีปัต ภาพจาก asianhistory.about.com)

ระหว่าง ปี ค.ศ.1206-1526 อินเดียส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของรัฐสุลต่านเดลี (Delhi Sultanate) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยลูกหลานของ มูฮัมมัด ชาอับ อุดดิน กอรี่ ภายหลังชัยชนะในยุทธการทาเรนครั้งที่ 2

ค.ศ.1526 เจ้าผู้ครองนครคาบูล ผู้ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก เจงกีส ข่าน และติมูร์ (Timur หรือที่รู้จักกันในยุโรปว่า "เตเมอร์เลียน" Tamerlane) นามว่า ซาเฮอร์ อัลดิน มูฮัมมัด บาบูร์ (Zahir al-Din Muhammad Babur) นำทัพเข้าโจมตีกองทัพของสุลต่านที่มีกำลังพลมากกว่าหลายเท่าตัว

กอง ทหารของบาบูร์มีเพียง 15,000 นาย แต่สามารถรบชนะกองกำลังของ สุลต่าน อิบราฮิม ลอธีร์ ที่มีจำนวนกว่า 40,000 นาย พร้อมด้วยกองช้างศึกอีก 100 เชือก เพราะใช้กองทหารปืนใหญ่ยิงเข้าใส่ช้างศึก และยังทำให้เหล่าทหารเลวเดินเท้าของฝ่ายตรงข้ามต้องแตกทัพหนีเพราะเสียขวัญ

โดย สุลต่านลอธีร์ได้สิ้นพระขนม์คาสนามรบ และบาบูร์ได้ก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล (Mughul หรือมองโกล "Mongol" นั่นเอง ) ขึ้นมาปกครองอินเดียไปจนถึง ค.ศ.1858 เมื่อรัฐบาลของอาณานิคมอังกฤษทำการยึดอำนาจ

*ปัจจุบันคือเมืองปะนีปัต ในรัฐหรยาณา ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย


ยุทธการเกาะฮานซาน (Battle of Hansan-do) ; ค.ศ.1592

(แบบจำลองเรือเต่า ที่อยู่ในยุทธานุสรณ์สถานแห่งชาติเกาหลี กรุงโซล ; ภาพจาก en.wikipedia.org)

หลังการสู้รบครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นจบลง ประเทศญี่ปุ่นก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำซามูไรนามว่า ฮิเดะโยะชิ (Hideyoshi) ซึ่งได้วางแผนขยายอำนาจของตนโดยการบุกพิชิตราชวงศ์หมิงของจีน ในที่สุดแล้ว เขาจึงยกพลสู่เกาหลีในปี ค.ศ.1592

กองทัพญี่ปุ่นได้รุกคืบขึ้นเหนือไปจนสุดที่เปียงยาง เสียแต่ว่าต้องหยุดรอกำลังเสริมที่จะมาสมทบทางทะเล

กองทัพเรือเกาหลีภายใต้การนำของแม่ทัพ ยี ซุน ชิน (Yi Sun-shin) ซึ่งเป็นผู้คิดประดิษฐ์เรือเต่า (turtle-boats) ซึ่งเป็นครั้งแรกทีมีการหุ้มเรือรบด้วยเหล็กกล้า โดยจะใช้กองเรือเต่า และยุทธวิธีปีกนกกระเรียน (crane's wing formation) เพื่อล่อให้กองทัพเรือญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากกว่าติดตามเข้าไปยังบริเวณใกล้ๆเกาะฮานซาน และทำการบดขยี้กองทัพเรือญี่ปุ่นสิ้นท่า

เรือรบของญี่ปุ่นจมลงถึง 59 ลำ จากทั้งหมด 73 ลำ ขณะที่เรือรบของเกาหลีทั้งหมด 56 ลำ ไม่ถูกจมลงเลยแม้แต่ลำเดียว ฮิเดะโยะชิจึงไม่สามารถจะเคลื่อนพลต่อไปยังจีนได้ และต้องถอนทัพกลับไปในที่สุด

*เกาะฮานซานอยู่ในเขตจังหวัดกียองซางใต้ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน

ยุทธการก็อกเตป (Battle of Geoktepe) ; ค.ศ.1881
(ภาพวาดการรบในยุทธการก็อกเตป ; ภาพจาก en.wikipedia.org)
ในศตวรรษที่ 19 ในการแข่งขันกันระหว่างพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย กับจักรวรรดิอังกฤษที่เข้ายึดครองน่านน้ำของทะเลดำ ทำให้กองทัพรัสเซียต้องขยายอิทธิพลไปยังเอเชียกลาง แต่กลับต้องเผชิญกับหนึ่งในศัตรูที่ยากจะต่อกรด้วยมากที่สุด นั่นคือชนเผ่าเร่ร่อนชาวเติร์กนั่นเอง

ค.ศ.1879 กองกำลังชาวเติร์กได้ชนะรัสเซียอย่างเด็ดขาดที่ก็อกเตป ทำให้จักรวรรดิรัสเซียต้องอับอายขายขี้หน้าเป็นอย่างมาก จึงได้กลับมาล้างแค้นในปี ค.ศ.1881 จากความแตกต่างด้านกำลังพลทำให้ป้อมก็อกเตปแตกลง เหล่าทหารเติร์กที่ป้องกันป้อมถูกสังหารเรียบ ส่วนที่เหลือก็แตกกระจายหนีออกไปตามทะเลทรายโดยรอบ

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นการแผ่อำนาจของรัสเซียในเอเชียกลางไปจนกระทั่งถึงยุคของโซเวียต ทุกวันนี้หลายประเทศในเอเชียกลางจึงจำเป็นจะต้องพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจ และซึบซับเอาวัฒนธรรมจากรัสเซียมาเป็นอย่างมาก

* ในอดีตก็อกเตปคือป้อมปราการของชาวเติร์ก ปัจจุบันกลายมาเป็นมัสยิดในประเทศเติร์กเมนิสถาน




ยุทธการซึชิมะ (Battle of Tsushima) ; ค.ศ.1950
 
(ภาพกองเรือญี่ปุ่นถ่ายจากเรือรบรัสเซีย ; ภาพจาก en.wikipedia.org)
เวลา 6.34 น. ของวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1950 กองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นและรัสเซียเข้าปะทะกันขั้นแตกหัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) ชาวยุโรปทั้งแผ่นดินถึงกับเอ๋อแดก เมื่อผลออกมาว่ารัสเซียแพ้แบบไม่มีชิ้นดี


กองเรือรัสเซียภายใต้การบัญชาของ นายพล โรเซสทเวนสกี้ (Rozhestvensky) พยายามที่จะหลบหนีไปยังท่าเรือวลาดิวอสต็อก ซึ่งอยู่ในไซบีเรียบนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็ไม่สามารถหนีกองเรือญี่ปุ่นไปได้


สรุปแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเรือรบไป 3 ลำ พร้อมด้วยลูกเรือ 117 นาย ส่วนฝ่ายรัสเซียต้องสูญเสียเรือรบไป 28 ลำ ลูกเรือตายไปทั้งสิ้น 4,380 นาย ถูกจับอีก 5,917 นาย


รัสเซียจึงต้องยอมแพ้ไปโดยปริยาย พร้อมกับเกิดการปฏิวัติระบอบซาร์ในปีเดียวกัน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นความรุ่งเรืองและอิทธิพลของญี่ปุ่น ไปจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945


*ช่องแคบซึชิมะอยู่ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้


ยุทธการโคฮิมา (Battle of Kohima) ; ค.ศ.1944

(ภาพสนามเทนนิสที่ถูกระเบิดภายในจวนข้าหลวงที่โคฮิมา ; ภาพจาก en.wikipedia.org)
นี่คือจุดพลิกผันครั้งสำคัญในสงตรามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเสียเท่าไหร่ ผลจากยุทธการโคฮิมานี้ คือสิ่งที่ทำให้การบุกอินเดียของญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักลง


ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นยึดพม่ามาจากอังกฤษได้ในปี ค.ศ.1942-1943 และหมายจะบุกต่อไปยังอินเดีย โดยระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน กำลังทหารอินเดียโดยการนำของ มอนตากู สตอปฟอร์ด (Montagu Stopford) เข้าต่อสู้แบบระห่ำบ้าเลือดกับกองทัพญี่ปุ่นที่นำทัพโดย โคโตะกุ ซะโต้ (Kotoku Sato) ใกล้กับหมูบ้านโคฮิมะทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย


ทั้งสองฝ่ายต่างขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม แต่ฝ่ายอังกฤษมีการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ในที่สุดแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นที่หิวโหยจำต้องล่าถอยออกไป และฝ่ายกำลังผสมอินเดีย-อังกฤษ จึงมีโอกาสเข้ายึดครองพม่าอีกครั้ง


โดยผลการรบนั้น ญี่ปุ่นต้องเสียทหารไปประมาณ 6,000 นาย ถ้ากับสงครามในพม่าแล้วก็เป็น 60,000 นาย ส่วนอังกฤษเสียทหารที่โคฮิมาไป 5,000 นาย รวมกับที่เสียในสงครามพม่าแล้วเป็น 17,000 นาย

1 ความคิดเห็น: